อบรมศิลปะที่ ร.ร.ปากท่อพิทยาคม
26-28 ก.ค. 54 ที่ผ่านมา มีการอบรมตามโครงการพัฒนาครูโรงเรียนในฝัน มีคุณครูเข้าร่วมอบรมประมาณ 45 คน มีทั้งครูประถมและครูมัธยมมาร่วมทำกิจกรรม โดยมีคณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี วันแรก ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับ ICT เพื่อการเรียนการสอน ตอนบ่ายเป็นของ อาจารย์เต่า ผศ.พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล ให้ความรู้เรื่องการทำดนตรีนำขบวน วันที่สอง เป็นเรื่องของการระบายสีน้ำทั้งวัน โดยอาจารย์ทรงศักดิ์ เกษมรุจิภาคย์ ส่วนวันสุดท้าย อาจารย์จินตนา กล้ายประยงค์ สอนให้ร้องเพลงไทยเดิม เพลงพื้นบ้าน ทั้งวัน ครูทั้งหลายที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้จากการปฏิบัติกันถ้วนหน้า ผมมีภาพกิจกรรมมาฝากครับ
สัตว์สวยป่างาม
อาจารย์สุรินทร์ได้กรุณาส่งเรื่อง กูปรี หรือวัวป่าของไทยที่สูญพันธ์ไปแล้วมาให้ ผมไม่มีเวลาลงให้เลย วันนี้ก็เลยตั้งใจว่าต้องลงให้ก่อนทำงานอื่น อาจารย์สุรินทร์บอกว่ากูปรี หรือโคไพร เป็นวัวป่าของไทยที่สูญพันธ์ มีความสูงและน้ำหนักพอ ๆ กับกระทิง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวัวแดงแล้ว กูปรีจะมีส่วนสูงและใหญ่กว่าวัวแดงเล็กน้อย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีสีดำทั้งตัว จะดำมากตรงบริเวณคอ ไหล่และตะโพก ส่วนขาตั้งแต่ข้อศอกลงไปเป็นสีขาวเรียกว่า ถุงเท้าขาว ตัวเมียส่วนมากมีสีเทา ๆ ลูกวัวที่ยังเล็กมีสีน้ำตาล ตัวรุ่นหนุ่มสาวก็ยังมีสีน้ำตาลเหลืออยู่บ้าง ตัวผู้ที่ยังไม่โตเต็มที่ ตรงท้องก็ยังมีสีเทา เหนียงของตัวผู้ใหญ่และกว้างกว่าเหนียงของวัวแดง และกระทิงมาก จนยาวห้อยต่ำเลยเข่าลงไปอีก ตัวเมียเหนียงไม่ยาวรุ่มร่ามนัก
เขาของกูปรีมีลักษณะแปลกกว่าวัวแดง กระทิง และควายป่า ระยะระหว่างโคนเขาแคบมาก ไม่มีแผ่นหนังหนาๆ เหมือนอย่างวัวแดง กูปรีชอบอยู่กนเป็นฝูง ฝูงละหลายตัว หากินตามป่าโปร่ง แต่เดิมเคยมีอยู่แถบจังหวัดสุรินทร์และศรีษะเกษ ฝูงสุดท้ายสิ้นสุดที่ป่าดงอีจานเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ราวปี 2491
ดอกเตอร์ ฮาโรลด์ เจ. คูลิดจ์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อเมริกา ได้เผยแพร่ให้ชาวโลกรู้ถึงแหล่งที่อยู่ของกูปรี และตั้งชื่อให้อย่างสมเกียรติว่า "โนวี โบส โสเวลี่"
เขาของกูปรีมีลักษณะแปลกกว่าวัวแดง กระทิง และควายป่า ระยะระหว่างโคนเขาแคบมาก ไม่มีแผ่นหนังหนาๆ เหมือนอย่างวัวแดง กูปรีชอบอยู่กนเป็นฝูง ฝูงละหลายตัว หากินตามป่าโปร่ง แต่เดิมเคยมีอยู่แถบจังหวัดสุรินทร์และศรีษะเกษ ฝูงสุดท้ายสิ้นสุดที่ป่าดงอีจานเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ราวปี 2491
ดอกเตอร์ ฮาโรลด์ เจ. คูลิดจ์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อเมริกา ได้เผยแพร่ให้ชาวโลกรู้ถึงแหล่งที่อยู่ของกูปรี และตั้งชื่อให้อย่างสมเกียรติว่า "โนวี โบส โสเวลี่"
จอมบึง...เมืองพระพุทธเจ้าหลวง ร.ศ.114
สวัสดีครับ ชาวศิลปะทุกท่าน วันนี้ อาจารย์อ้วนขอเปิด Blog web ใหม่สักบล๊อกหนึ่ง เพื่อเป็นสื่อกลางการสื่อสารเกี่ยวกับความเป็นไปในวงการศิลปะของจอมบึง โดยกลุ่ม ด.เด็กถึง ฒ.ผู้เฒ่า เป็นแกนกลางในการประสานให้เกิดกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ที่ชื่นชมและชื่นชอบงานศิลปะต้องการจะเข้าร่วมด้วยช่วยสืบสานในงานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเราก็เรียนเชิญน๊ะครับ คาดว่าต้นปี 2551 เราจะพบปะหารือกับผู้เป็นผู้ใหญ่ในวงการ เช่น อาจารย์สุรินทร์ เหลือลมัย ,อาจารย์วัชรินทร์ จันทรา, และศิลปินระดับชาติอีกสองท่านคือ อาจารย์ทรงศักดิ์ เกษมรุจิภาคย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและอาจารย์สาครินทร์ เครืออ่อน แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่องที่จะหารือคงจะเป็นเรื่องการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมของกลุ่มนั่นแหละ คอยติดตามน๊ะครับ
แต่ที่จะบอกกล่าวตามหัวเรื่อง บางท่านที่ได้มาชม Blog อาจจะงง เพราะไม่รู้ว่าจอมบึงไปเกี่ยวอะไรกับพุทธเจ้าหลวง คืออย่างนี้ครับ เมื่อวันที่ 19 -20-21 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ทรงเสด็จประพาสจอมบึงถึง 3 วัน ก็เลยอยากบอกกล่าวว่า ปีนี้ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็จะมีงานบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์อีกเหมือนเช่นทุกปี เชิญเที่ยวงานได้ครับ ชาวจอมบึงยินดีต้อนรับ ส่วนประวัติศาสตร์ของจอมบึง เดี๋ยวจะเรียนถามอาจารย์สุรินทร์ให้กระจ่างแล้วจะนำลงให้ครับ
แต่ที่จะบอกกล่าวตามหัวเรื่อง บางท่านที่ได้มาชม Blog อาจจะงง เพราะไม่รู้ว่าจอมบึงไปเกี่ยวอะไรกับพุทธเจ้าหลวง คืออย่างนี้ครับ เมื่อวันที่ 19 -20-21 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ทรงเสด็จประพาสจอมบึงถึง 3 วัน ก็เลยอยากบอกกล่าวว่า ปีนี้ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงก็จะมีงานบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์อีกเหมือนเช่นทุกปี เชิญเที่ยวงานได้ครับ ชาวจอมบึงยินดีต้อนรับ ส่วนประวัติศาสตร์ของจอมบึง เดี๋ยวจะเรียนถามอาจารย์สุรินทร์ให้กระจ่างแล้วจะนำลงให้ครับ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู้หัว เสด็จประพาสจอมบึง
รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสมณฑลราชบุรี แล้วเสด็จฯ ไปประทับแรมที่ตำบลจอมบึง ดัง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒ แผ่นที่ ๓๙ วันที่ ๒๙ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ หน้า ๓๖๓ ลงพิมพ์ “ข่าวเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลราชบุรี แลเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ” ว่า “วันที่ ๑๙ ธันวาคม เวลาย่ำรุ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงม้าพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินจากค่ายหลวงไปตามทางหลวง ผ่านทุ่งเข้าป่าแดง เวลาเช้าโมง ๑ กับ ๔๐ นาที ถึงที่ประทับร้อนปากช่องทุ่งพิทาบ เสด็จประทับเสวยเช้า ระยะทางที่เสด็จพระราชดำเนินเพียงนี้ ๓๓๕ เส้น เวลาเช้า ๔ โมงเสด็จจากที่ประทับร้อน เวลาเช้า ๕ โมงครึ่งถึงค่ายหลวงที่ประทับแรม ตำบลจอมบึง เสด็จจากม้าพระที่นั่งสู่ที่ประทับ ณ ค่ายหลวงนั้น ทางที่เสด็จพระราชดำเนินระยะนี้ ๒๘๘ เส้น รวมระยะทางแต่ค่ายหลวงหลุมดินถึงค่ายหลวงตำบลจอมบึงนี้ ๖๒๓ เส้น เวลาค่ำเสด็จออก พระยาสุรินทรฤาไชยนำพระรามบริรักษ์แลพราน แลพวกกะเหรี่ยงบ้านสวนผึ้งทางไกลจากที่นี้มาถวายของป่าต่างๆ สัตว์ต่างๆ มีพระราชดำรัสตามสมควร แล้วเสด็จขึ้น” ตารางการเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลราชบุรี ต่อเนื่องนครไชยศรีที่ได้แจกก่อนเวลาเสด็จฯ จริง เพื่อให้ทราบวันเวลาระยะทางเป็นการล่วงหน้านั้น ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒ แผ่นที่ ๓๗ วันที่ ๑๕ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๔ หน้า ๔๓๐ ระบุว่า “วันที่ ๑๘ เช้าเสด็จฯ แต่พลับพลาที่ประทับตำบลหลุมดิน เป็นขบวนรถม้าพระที่นั่งไปประทับร้อนตำบลเขาประทับช้าง แล้วเสด็จฯ ไปประพาสตำบลจอมบึง แลประทับแรม ณ ที่นั้น” แต่วันเสด็จฯ จริงเลื่อนเป็นวันที่ ๑๙ และเปลี่ยนที่ประทับร้อนมาเป็นปากช่องทุ่งพิทาบ การที่กะเหรี่ยงบ้านสวนผึ้งหรือโพล่งท่าตะเกถูกเกณฑ์มารับเสด็จฯ แสดงว่ากะเหรี่ยงที่บ้านหนองกะเหรี่ยงได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ปากท่อและบ้านหนองหญ้าปล้อง กลายเป็นโพล่งโด่งพริบพรีไปแล้ว ถ้ายังอยู่น่าจะต้องมารับเสด็จฯ ด้วย ต่อมา บ้านหนองกะเหรี่ยงเปลี่ยนเป็นบ้านหนองนกกระเรียน เมื่อชาวไทยวนเคลื่อนย้ายมาอยู่ภายหลัง เล่ากันว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลเมืองราชบุรีได้สั่งเตรียมการรับเสด็จฯ เป็นแรมเดือน เจ้าหน้าที่มาถางป่าปรับสนาม สร้างพลับพลาที่ประทับ ณ บริเวณหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลจอมบึง เล้าขุนหมูเพื่อเตรียมรับรองข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จ โรงครัวหุงข้าวกระทะอยู่ตรงห้องแถวบ้านพักตำรวจ หน้าบ้านพักนายอำเภอปัจจุบันเป็นที่แขวนเป้าเคลื่อนที่ สำหรับทหารซ้อมยิงปืนยาวให้ทอดพระเนตร
“วันที่ ๒๐ ธันวาคม เวลาเช้า เสด็จพระราชดำเนินที่พักพระสงฆ์ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นต้น ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินไปด้วย แล้วทรงม้าพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินแต่ที่พักพระสงฆ์ไปตามทางหลวง ถึงเชิงเขากลางเมือง หยุดประทับเสวยเช้าที่เชิงเขา ทางแต่ค่ายหลวงถึงเชิงเขา ๘๔ เส้น เสวยแล้วทรงพระราชดำเนินขึ้นประพาสบนเขา แลทรงพระราชดำเนินลงประพาสในถ้ำเขากลางเมืองนั้น แล้วประทับที่ปากถ้ำ โดยทรงพระราชดำริที่จะให้มีสิ่งสำคัญ เป็นเครื่องหมายที่ระลึกถึงการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ไว้สืบไปสิ้นกาลนาน จึ่งให้ทรงพระอักษรไว้ที่ปากถ้ำ คือ จ ป ร เป็นอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ แลเลข ๑๑๔ หมายปีที่เสด็จประพาส แลทรงพระอักษรพระราชทานนามถ้ำว่า “ถ้ำจอมพล” โปรดเกล้าฯ ให้ช่างสลักๆ ศิลาตามตัวอักษร แล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำนั้น แล้วเสด็จประพาสตามระยะทางแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับค่ายหลวงตำบลจอมบึง” การเสด็จประพาสถ้ำจอมพลครั้งนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไม่ได้ตามเสด็จฯ ถ้าตามเสด็จฯ จริงต้องฉายพระรูปด้วย เขาจอมพลที่เดิมเรียกว่าเขากลางเมือง ตามตำนานเรือสำเภาล่มนั้น ก็พากันเรียกว่าเขาจอมพลแต่นั้นมา ตาควาย คชกาสร ช่างตีเหล็กจากบ้านโรงช้าง ราชบุรี เป็นผู้สลักหินตามตัวอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อและถ้ำจอมพล จากจดหมายเหตุรัตนโกสินทร์ จารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร. และ ว.ป.ร. ตอนที่ ๑ นับเป็นอักษรพระนามที่ ๒๑
“วันที่ ๒๑ ธันวาคม เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เสด็จทรงม้าพระที่นั่งไปทอดพระเนตรบึง เวลาย่ำค่ำ เสด็จพระราชดำเนินกลับค่ายหลวงตำบลจอมบึง” เสด็จฯ ไปทางสายเก่าบ้านวังมะเดื่อ ตรงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เล่าว่าเจ้าหน้าที่ได้เปิดป่าพงหญ้าเป็นถนนลงไปสู่บึง พระองค์ทรงโปรดปรานความงามของบึงมาก ทรงพระราชดำรัสช้าๆ ว่า “นี่หรือบึง สวยงามดี ต่อไปจะเจริญ ต่อไปนี้ให้เรียกว่าจอมบึง” ท้องชาตรีที่ถูกเรียกขานภายหลังสงครามเก้าทัพ พ.ศ.๒๓๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น ชาวบ้านพากันเรียกขานใหม่ว่าจอมบึงตั้งแต่นั้นมา
เสด็จประพาสจอมบึงครั้งนี้ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่า ท้องที่จอมบึงมีการทำนามากกว่าแห่งอื่น ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น แต่กันดาร เพราะอยู่ห่างไกลตัวเมืองราชบุรีมาก การเดินทางให้เร็วต้องขี่ม้า ถ้าเดินเท้าใช้เวลาร่วมวัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจอมบึง ตามชื่อท้องบึงที่ทรงพระราชทานนามให้ โดยขึ้นกับอำเภอเมืองราชบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ ที่ทำการกิ่งอำเภอครั้งแรกตั้งอยู่ที่บ้านเกาะริมบึง คือบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลจอมบึงในปัจจุบัน...........ที่มา ข้อมูลจากอาจารย์สุรินทร์ เหลือลมัย
“วันที่ ๒๐ ธันวาคม เวลาเช้า เสด็จพระราชดำเนินที่พักพระสงฆ์ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นต้น ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินไปด้วย แล้วทรงม้าพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินแต่ที่พักพระสงฆ์ไปตามทางหลวง ถึงเชิงเขากลางเมือง หยุดประทับเสวยเช้าที่เชิงเขา ทางแต่ค่ายหลวงถึงเชิงเขา ๘๔ เส้น เสวยแล้วทรงพระราชดำเนินขึ้นประพาสบนเขา แลทรงพระราชดำเนินลงประพาสในถ้ำเขากลางเมืองนั้น แล้วประทับที่ปากถ้ำ โดยทรงพระราชดำริที่จะให้มีสิ่งสำคัญ เป็นเครื่องหมายที่ระลึกถึงการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ไว้สืบไปสิ้นกาลนาน จึ่งให้ทรงพระอักษรไว้ที่ปากถ้ำ คือ จ ป ร เป็นอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ แลเลข ๑๑๔ หมายปีที่เสด็จประพาส แลทรงพระอักษรพระราชทานนามถ้ำว่า “ถ้ำจอมพล” โปรดเกล้าฯ ให้ช่างสลักๆ ศิลาตามตัวอักษร แล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำนั้น แล้วเสด็จประพาสตามระยะทางแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับค่ายหลวงตำบลจอมบึง” การเสด็จประพาสถ้ำจอมพลครั้งนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไม่ได้ตามเสด็จฯ ถ้าตามเสด็จฯ จริงต้องฉายพระรูปด้วย เขาจอมพลที่เดิมเรียกว่าเขากลางเมือง ตามตำนานเรือสำเภาล่มนั้น ก็พากันเรียกว่าเขาจอมพลแต่นั้นมา ตาควาย คชกาสร ช่างตีเหล็กจากบ้านโรงช้าง ราชบุรี เป็นผู้สลักหินตามตัวอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อและถ้ำจอมพล จากจดหมายเหตุรัตนโกสินทร์ จารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร. และ ว.ป.ร. ตอนที่ ๑ นับเป็นอักษรพระนามที่ ๒๑
“วันที่ ๒๑ ธันวาคม เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เสด็จทรงม้าพระที่นั่งไปทอดพระเนตรบึง เวลาย่ำค่ำ เสด็จพระราชดำเนินกลับค่ายหลวงตำบลจอมบึง” เสด็จฯ ไปทางสายเก่าบ้านวังมะเดื่อ ตรงหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เล่าว่าเจ้าหน้าที่ได้เปิดป่าพงหญ้าเป็นถนนลงไปสู่บึง พระองค์ทรงโปรดปรานความงามของบึงมาก ทรงพระราชดำรัสช้าๆ ว่า “นี่หรือบึง สวยงามดี ต่อไปจะเจริญ ต่อไปนี้ให้เรียกว่าจอมบึง” ท้องชาตรีที่ถูกเรียกขานภายหลังสงครามเก้าทัพ พ.ศ.๒๓๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น ชาวบ้านพากันเรียกขานใหม่ว่าจอมบึงตั้งแต่นั้นมา
เสด็จประพาสจอมบึงครั้งนี้ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่า ท้องที่จอมบึงมีการทำนามากกว่าแห่งอื่น ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น แต่กันดาร เพราะอยู่ห่างไกลตัวเมืองราชบุรีมาก การเดินทางให้เร็วต้องขี่ม้า ถ้าเดินเท้าใช้เวลาร่วมวัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจอมบึง ตามชื่อท้องบึงที่ทรงพระราชทานนามให้ โดยขึ้นกับอำเภอเมืองราชบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ ที่ทำการกิ่งอำเภอครั้งแรกตั้งอยู่ที่บ้านเกาะริมบึง คือบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลจอมบึงในปัจจุบัน...........ที่มา ข้อมูลจากอาจารย์สุรินทร์ เหลือลมัย